วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ "กษัตริย์นักพัฒนา" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศและการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชนอย่าง ประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก, อภิชัย พันธเสน และ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศและสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืมมีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนเห็นด้วย และเชิดชู แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องนี้ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีของสหประชาชาติ ในบางสื่อ
แหล่งอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การปลูกถั่วงอก

ต้นถั่วงอก
การปลูกต้นถั่วงอก
อุปกรณ์
1.เมล็ดถั่วงอก
2.กระถาง หรือ ขวดพลาสติก
3.ทราย

ขั้นตอนการปลูกถั่วงอก
1.นำทรายมาใส่ในกระถางประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง
2.พอนำทรายใส่ลงไปเสร็จแล้วก็ใส่เมล็ดถั่วงอกมาใส่ลงไปแล้วนำทรายถม
3.พอทำเสร็จแล้วก็รดนำ้แล้วนำไปไว้ในที่มืด

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การไป field trip

ตอนเช้าวันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/3 ได้ออกไปศึกษาที่ ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ออกเดินทางโดยรถตู้โดยสารจำนวน4คัน พอไปถึงที่ศูนย์ศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็มีการเปิดพิธีจากเจ้าหน้าที่จากศูนย์ฯ พอเปิดพิธีเสร็จก็นำกระเป๋าเข้าไปเก็บไว้ในห้อง จากนั้นก็ลงมาฝึกระเบียบแถวพอฝึกระเบียบแถวเรียบร้อยก็ไปเตรียมตัวรับประทานอาหารพอรับประทานนอาหารกลางวันเสร็จก็ไไปพัก พอถึงตอนบ่ายก็เตรียมตัวไปศึกษาในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงตามฐานต่างๆ เช่น ฐานการเลี้ยงหมูหลุม การเพาะเห็ด พอทำกิจกรรมพวกนี้เสร็จก็ไปพักอาบน้ำ พอถึงตอนกลางคืนก็มีกิจกรรมการเต้น และพอถึงเวลา 3 ทุ่มก็เข้านอน และพอถึงเช้าวันอาทิตย์ก็ตื่นมาออกกำลังกาย และเก็บขยะ จานั้นก็ไปรับปประทานอาหารเช้า และไปทำกิจกรรมอื่นต่อ คือ ปั้นดิน ทำกระดาษสา ไถนา ปลูกเข้า จานนั้นก็ไปเล่นกิจกรรมด้วยกัน พอเล่นกิจกรรมเสร็จก็ไปอาบน้ำ เก็บกระเป๋าแล้วก็ทำพิธีปิดกิจกรรม

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

คู่สมรสคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรมีเเนวความคิดในการถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาด้วยการเลี้ยงอาหาร การให้อาชีพและการบริการสาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมครั้งคราวต่อมาจึงนำแนวทาง พระราชดำริ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และงานศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ แด่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดอานิสงค์ถาวรและถวายเป็นพระราชกุศล
จากแนวความคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการสร้างศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและงานศิลปาชีพทั้ง 4 ศูนย์ 4 ภาค โดยให้
สร้างศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯและศูนย์สาธิตการส่งเสริมศิลปาชีพ ภาคเหนือเป็นแห่งแรกโดยตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองการสัตว์และเกษตรกรรมและเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์



ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้รอบตัว ความรอบคอบ ความระมัดระวัง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ ในการวางแผนการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตให้มีความรู้เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีสติ เพื่อให้สมดุล พร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางในด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีhttp://www.pm.ac.th/weboat/web/korat%207/index.htm

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” (เกษม วัฒนชัย,2548,หน้า 16-17)
http://school.obec.go.th/khuntan1/bestweb/mean.htm

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ทฤษฎีป้องกันดินเสื่อมโทรมและการพังทลายของดิน โดย หญ้าแฝก (Vetiver Grass)
การชะล้างพังทลายของดินก่อให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ซึ่งสะสมในดินรวมทั้งความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติ
สภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินส่วนใหญ่ เกิดจากกรณีผิวหน้าดินถูกกัดเซาะจากฝนที่ตกลงมาและน้ำที่ไหลบ่าหน้าดินเป็นจำนวนมากเช่นนี้ ทำให้หน้าดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไป บางครั้งยังเกิดปัญหาดินพังทลาย ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพื้นที่ทางการเกษตรกรรมสูง ทำให้ผลผลิตลดลง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ
จากการไหลบ่าของน้ำฝนเป็นจำนวนมากนี้เองเมื่อไม่มีสิ่งใดมากั้นชะลอไว้ ทำให้พื้นดินไม่สามารถเก็บกักน้ำฝนได้เต็มที่ และผิวหน้าดินจะถูกกัดเซาะพังทลายอย่างรุนแรง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาถึงศักยภาพของ "หญ้าแฝก" ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดินไว้ อีกทั้งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย วิธีการปลูกก็ใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก มีใจความสรุปได้ว่า
  • หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาทดลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • การดำเนินการศึกษาทดลองการปลูกหญ้าแฝก ให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้
    • การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางของความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขาเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย
    • การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นราบให้ดำเนินการในลักษณะ ดังนี้
      • ปลูกโดยรอบแปลง
      • ปลูกลงในแปลง ๆ ละ 1 หรือ 2 แนว
      • สำหรับแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่
    • การปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำมิให้ตื้นเขิน อันเนื่องมาจากตะกอนจากการพังทลายของดิน ตลอดจนช่วยรักษาดินเหนืออ่างและช่วยให้ป่าไม้ในบริเวณพื้นที่รับน้ำให้ทวีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว
    • การปลูกหญ้าแฝกเหนือบริเวณแหล่งน้ำ ปลูกเป็นแนวป้องกันตะกอนดินและกรองของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงแหล่งน้ำ
    • http://www.northernstudy.org/vetiver%20grass.html

การเลี้ยงหมู ( หลุม )

การเลี้ยงหมู ( หลุม )

ใน ปัจจุบันการเลี้ยงหมูบ้าน มีทั้งน้ำเสีย และขี้หมูทีส่งกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว ส่งผลกระทบทำให้สิ่งแวดล้อมเลวลง เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ทนกลิ่นเหม็นไม่ไหวทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ ตลอด ซึ่งแต่เดิมเรานิยมเลี้ยงหมูไว้ประมาณ 1-2 ตัว เพื่อเอาไว้กินเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แล้วหาผักหญ้า ต้นกล้วย บอน มะละกอ เอามาเสริมทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป เป็นการเลี้ยงหมูแบบเก็บออมเงิน เป็นหมูออมสิน แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์ ก้าวหน้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นสามารถให้อาหารสำเร็จแก่ลูกหมูหย่านม เลี้ยงด้วยอาหาร 4-5 เดือน ก็สามารถทำน้ำหนักตัวได้ถึง 100 กก. แต่เมื่อคิดดูค่าอาหาร การจัดการและเทคโนโลยี แล้วเปรียบเทียบกับราคาขายในท้องตลาด ปรากฏว่า “ ขาดทุน ” ดังคำกล่าวที่ว่า “เลี้ยงหมูให้เจ๊ก” ทุนหาย กำไรหด หลายคนเลิกเลี้ยงกันแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน

จากข้อความดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า “ ทำไมเราไม่กลับไปเลี้ยงหมูแบบเดิม หรือการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติหละ ” แต่ก็มีเสียงบอกมาว่า “ มันใช้เวลานานและพวกต้นกล้วย บอน มะละกอ หรือพืชผักต่างๆ ที่เป็นอาหารให้หมูก็ไม่ค่อยมี ขี้หมูก็มีกลิ่นเหม็นโชยไปทั่ว ทำให้ไม่อยากเลี้ยง ” แต่จากการศึกษาพบว่าการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยง เนื่องจากสามารถลดต้นทุนอาหารได้ถึง 70 % แล้วยังทำให้ภารกิจการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง ไม่ต้องกวาดพื้นคอกกำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นขี้หมู ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม จนสามารถห่อข้าวไปกินในพื้นคอกหมูได้โดยไม่น่ารังเกียจอีกทั้งดินและขี้หมู ก็สามารถนำไปทำปุ๋ยขายได้อีก เขาทำกันอย่างไร...ไปดูกัน

โรงเรือน

ขนาด ของคอก กว้าง 3.6 เมตร x ยาว 8.1 เมตร ( ประมาณ 30 ตารางเมตร ) สำหรับเลี้ยงหมูได้ 25 ตัว (หมู 1 ตัว ใช้พื้นที่ประมาณ 1.2 ตารางเมตร) สำหรับขนาดของคอกสามารถยืดหยุ่นได้ตามพื้นที่ ลักษณะของคอกต้องมีลักษณะโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรให้อากาศภายนอกเข้าไปในโรงเรือนมาก แล้วระบายออกไปทางด้านบน



พื้นคอก

1. ขุดดินออกให้บุกบงไปประมาณ 90 ซม. แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ใส่แทนที่ ให้เต็ม เหมือนเดิมที่ขุดออกไป ได้แก่
1.1 ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
1.2 ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
1.3 เกลือ 0.3-0.5 ส่วน


เมื่อผสมแกลบ ดิน และเกลือแล้ว ให้ใช้จุลินทรีย์จากน้ำหมักพืช และจุลินทรีย์จากการ หมักนม ราดลงพื้นชั้นที่ 1 เมื่อความลึก 30 ซม. โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบาง ๆ และรดน้ำพอชุ่มแล้วทำเหมือนกันทุกชั้น ต่อไปโรยแกลบดิบปิดหน้าหนึ่งฝามือ แล้วปล่อยหมูลงไปได้เลย เมื่อปล่อยหมูลงไปได้สักพักแล้วก็ใช้จุลินทรีย์ 2 ช้อน ต่อ น้ำ 10 ลิตร พ่นลงพื้นคอกเป็นครั้งคราว เมื่อหมูขับถ่าย จุลินทรีย์นี้เองก็จะเป็นตัวย่อยสลายสิ่งปฏิกูลทั้งหลายลงดินไป เมื่อเลี้ยงหมูไปได้เท่านั้น แล้วก็ผสมพื้นคอกใหม่ใส่เข้าไปแทนที่เรานำไปทำปุ๋ย

พื้นคอกไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดไม่ต้องกวาด หมูจะขุดคุ้ย และมีความสุขอยู่กับการกินจุลินทรีย์ ในบรรยากาศที่สบายด้วยระบบถ่ายเทอากาศที่เป็นธรรมชาติ

การเลี้ยงดู

1. รางน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อให้หมูเดินไปมาเป็นการออกกำลังกายการให้อาหารให้เพียงวันละครั้ง

2. ให้พืชสีเขียว 1 ใน 3 ของอาหารที่ให้ เช่น หญ้าสด ต้นกล้วย มะละกอ มันเทศ หรือ วัชพืชที่หมูชอบ

3. อาหารจากตลาดใช้เพียง 30 ส่วน

4. เชื้อราขาวใบไผ่ + ดิน + รำข้าว คลุกผสมไว้ 4-5 วัน เอาอาหารจากตลาดผสมอย่างละครึ่งหมักรวมกันก่อน 24 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปให้หมูกิน หากมีความสามารถหาหอยเชอรี่ นำมาบดผสมลงไปก็จะลดต้นทุนมาก ไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารจากตลาด ส่วนพืชสีเขียวนำมาสับให้กินเป็นอาหารเสริม

5. น้ำดื่ม การผสมน้ำดื่มสำหรับหมู จะใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ผสมกันดังนี้

5.1 หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อน

5.2 น้ำฮอร์โมนสมุนไพร 1 ช้อน ( เหล้าดองยา )

5.3 นมเปรี้ยว 3 ช้อน

5.4 น้ำสะอาด 10 ลิตร

ผสมให้ดื่มเป็นประจำ หากพื้นคอกแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำหมักดังกล่าวพ่น หรือราดจะทำให้พื้นคอกมีกลิ่นหอมจูงใจให้หมูขุดคุ้ย และยังทำให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท และ เกิดจุลินทรีย์มากมาย

http://www.northernstudy.org/moolum.htm