วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

คู่สมรสคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรมีเเนวความคิดในการถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาด้วยการเลี้ยงอาหาร การให้อาชีพและการบริการสาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมครั้งคราวต่อมาจึงนำแนวทาง พระราชดำริ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และงานศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ แด่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดอานิสงค์ถาวรและถวายเป็นพระราชกุศล
จากแนวความคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการสร้างศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและงานศิลปาชีพทั้ง 4 ศูนย์ 4 ภาค โดยให้
สร้างศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯและศูนย์สาธิตการส่งเสริมศิลปาชีพ ภาคเหนือเป็นแห่งแรกโดยตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองการสัตว์และเกษตรกรรมและเกษตรกรรมที่ 3 กรมการสัตว์ทหารบก ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์



ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้รอบตัว ความรอบคอบ ความระมัดระวัง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ ในการวางแผนการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตให้มีความรู้เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีสติ เพื่อให้สมดุล พร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางในด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีhttp://www.pm.ac.th/weboat/web/korat%207/index.htm

ไม่มีความคิดเห็น: